งานการประชุมเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง
เนื่องจากเป็นแหล่งระดมความคิดในการวางแผน
วางนโยบาย ตลอดจนแนวปฏิบัติ หรือระดมความคิด เพื่อให้การปฏิบัติงานของกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง
สำเร็จผลตามเป้าหมาย ฉะนั้นการจัดการประชุม และการเขียนรายงานการประชุมที่กระชับรัดกุมจะสนองให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ในการประชุมตามความมุ่งหมาย คู่มือฉบับนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก
เป็นเรื่องความหมาย ประเภทและขั้นตอน การประชุม ส่วนที่ 2
เป็นรูปแบบของการจัดระเบียบวาระ แบบการจัดทำเอกสารประกอบวาระการประชุม
และแบบรายงานการประชุม เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง
ๆ ต่อไป
ทางสำนักวิชาการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
บุคลากรที่ปฏิบัติงานทุกระดับรวมทั้งผู้บริหารจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องมีประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน
และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการติดตามและประเมินผล
และก่อให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของ
สำนักวิชาการตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ทุกประการ
คณะผู้จัดทำ
สำนักวิชาการ
มหาวิทยาลัยธนบุรี
นักศึกษาปัจจุบัน
Recent Articles
-
รายวิชาที่เปิดสอบเทียบโอนความรู้ ( CE ) ประจำปีการศึกษา 2567
-
กำหนดการเข้าสอบรายวิชาเทียบโอนความรู้ (CE) รายวิชาเทียบโอนความรู้ (CE) ประจำปีการศึกษา 2567 นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ ในวันจันทร์ที่ 15 ก.ค...